16 July 2007

ฟิลิปปินส์ มองไทย

จาก A tale of two countries โดย Felicito C. Payumo

Felicito C. Payumo ได้เขียนไว้ใน Philippines Daily Inquirer เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2550 ว่า

จากการเดินทางมากรุงเทพฯ ครั้งล่าสุด ทำให้ผมสงสัยว่า เราตามหลังประเทศไทยอยู่เท่าไหร่ สนามบินใหม่ของกรุงเทพฯใหญ่และมีประโยชน์ใช้สอยดี เป็นหนึ่งในสนามบินที่ดีที่สุดในภูมิภาค

ประเทศไทย
กับฟิลิปปิส์ซึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็นประเทศ ฝาแฝด ในช่วงทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2503 - 2513) ตอนที่เคยมีขนาดประชากรและเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน สงสัยว่าเราต่างกันยังไง ผมจึงค้นหาข้อมูลจาก The World Fact Book บนอินเตอร์เน็ต พบว่า ในปีพ.ศ. 2549 ระหว่าง ฟิลิปปินส์ | ไทย
  • GDP per capita (เฉลี่ยต่อคนต่อปี): US$5,000 | US$9,200 (หรือ ต่อคนต่อเดือน ราว ฿14,200 | ฿26,100)
  • คนยากจน ต่อประชากรทั้งหมด: 40% | 10%
  • ประชากร: 91 ล้านคน | 65 ล้านคน
  • GDP: $443.1 พันล้าน | $585.9 (฿15.07 ล้านล้าน ฿19.92 ล้านล้าน) ไทยประชากรน้อยกว่า แต่ GDP มากกว่า
  • ส่งออก: $47.2 พันล้าน | $123.5 พันล้าน (฿16.05 แสนล้าน | ฿41.99 แสนล้าน) ไทยมากกว่าฟิลิปปินส์ถึง 3 เท่า
  • อัตราการว่างงาน: 7.9% | 2.1% การที่ประเทศไทยมีการส่งออกมากกว่า ทำให้คนไทยไม่ต้องมองหางานที่ให้เงินดีในต่างประเทศ ในขณะที่คนฟิลิปปินส์ถึง 8 ล้านคน ต้องทนห่างไกลจากครอบครัวเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • สัดส่วนการลงทุนจากGDP: 14.6% | 28.7% การที่ไทยมีผลผลิตมากกว่าฟิลิปปินส์ก็เนื่องมาจาก กำลังการผลิตของประเทศ, ภาคการเกษตร, และภาคบริการ ดังนั้น GDPที่สูงกว่าของไทยจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไทยไม่มีการดึงดูดการลงทุนที่ดีกว่า
เราซาบซึ้งต่อเรื่องดีๆเล็กๆ อย่างเช่น การเติบโตของGDP ที่ 6.9% ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ในขณะที่บางคนก็ยังสงสัยในตัวเลขนี้ ด้วยการเก็บภาษีที่้ต่ำกว่าเป้า ทำให้ความพยายามที่จะดึงดูด การเอางานด้าน call centre และ กระบวนการทางธุรกิจบางอย่างจากประเทศอื่นมาทำ (Call centre and Business process outsourcing) เป็นผล

และด้วยโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ดี เรา์สามารถดึงดูดการลงทุนใหญ่ๆได้ อย่างเช่น อู่ต่อเรือมูลค่า $1.6 พันล้านที่ ฮันจิน (Hanjin) ในซูบิค (Subic) และการขยายโรงงานของ Texas Instruments (TI) มูลค่า $1 พันล้าน ที่คลาร์ก (Clark) และฟิลิปปินส์ แอร์ไลส์ (Philippines Airlines) ก็วางแผนที่จะขยายการให้บริการไปถึง สนามบิน ดิโอสดาโด (Diosdado Airport) ที่คลาร์กด้วย ผมมั่นใจว่าข่าวนี้ประกอบกับทางด่วนซูบิค-คลาร์ก-ทาร์แลค (Tarlac) ที่คาดว่าน่าจะเสร็จปลายปี เป็นตัวสำคัญให้ Texas Instruments เลือกคลาร์ก แทนที่ประเทศจีน ทั้งๆที่จีนมีกฏที่ไม่เคร่งเท่า

แต่เราก็ยังต้องไปอีกไกลกว่าี่์จะตามแฝดเก่าของเราทัน ประเทศไทยมีถนนยาว 57,403 ก.ม. ในขณะที่เรามี 19,804 ก.ม. ความเหนือกว่าของไทยในด้านการรถไฟยึ่งมากกว่ามาก รถไฟไทยวิ่งบนรางยาว 4,071 ก.ม. ในขณะที่ เรามีราง 897 ก.ม. โดยที่มีเพียง 40% เท่านั้นที่ถูกใช้งาน ถึงแม้ว่าเราจะมีสนามบินมากกว่า คือ 83แห่งสำหรับรันเวพื้นปูน และ 173แห่งรันเวพื้นดิน เมื่อเทียบกับไทย 63แห่ง และ 42แห่ง ตามลำดับนั้น ก็เป็นเพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ ถ้าเราไม่บินไปยังเกาะต่างๆ เราก็ต้องนั่งเรือไป

แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ก็เป็นสาเหตุให้ไทยมีการชลประทานที่กว้างขวาง พวกเขาทำการชลประทานเกือบถึง 50,000 ตร. ก.ม. ของพื้นดิน ในขณะที่เรามีแค่ 15,500 ตร. ก.ม. จริงอยู่ประเทศไทยมีแม่น้ำแม่กลองที่ยิ่งใหญ่ แต่เราก็น่าจะสามารถสร้างระบบเก็บกักน้ำเล็กๆ ที่เหมาะกับภูมิประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆอย่างเราได้

แต่ว่าประเทศไทยเอาทรัพยากรจากไหนมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในทางกลับกันก็ดึงดูดเงินลงทุน? ที่มาอันหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือ การท่องเที่ยว กรุงเทพฯเป็นประตูนำนักท่องเที่ยวจากยุโรป สู่เอเชีย และประเทศไทยก็มีอะไรที่มากกว่าแค่ที่ตั้งที่สะดวกมอบให้

ในปี 2549 ไทยรับนักท่องเที่ยวประมาณ 15 ล้านคนซึ่งใช้จ่ายประมาณ $14 พันล้าน (฿47.6 หมื่นล้าน) ประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้ามาถึง 3 ล้านคน เพื่อให้ได้ $2.5ล้าน (฿8.5 หมื่นล้าน) เลย ในทางตรงกันข้าม ชาวฟิลิปปินส์ของเรา ที่ทำงานต่างประเทศ ส่งเงินกลับมาบ้านราว $14 พันล้าน เมื่อปีที่่แล้ว โดยที่ประเทศไทยไม่แม้แต่จะเก็บข้อมูลการส่งเงินกลับประเทศ ของคนไทยในต่างประเทศเลย ดังนั้น รวมรายได้ของเราจากนักท่องเที่ยวและเงินที่ส่งกลับมาบ้านแล้วได้ $16.5 พันล้าน (฿56.1 หมื่นล้าน) มากกว่า $14 พันล้านของไทย

แล้วทำไมเรายังตามหลัง? ก็เพราะเราล้มเหลวมานานที่จะจัดการกับเงินที่ส่งกลับมานี้ ผลการสำรวจจากธนาคารกลาง แสดงให้เห็นว่า หลังจากใช้จ่ายด้านการศึกษาและยา และซื้อหรือซ่อมบ้านแล้ว เพียงแค่ 40% ของผู้ทำงานต่างประเทศ เก็บสตางค์ และเงินเก็บส่วนใหญ่ของพวกเขาก็อยู่ต่างประเทศ เพียงแค่ 10% ลงทุน โดยที่พวกเขากระจายรายได้ของเขาด้วยการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค (Gadgets) และอาหารฟาสท์ฟูด

เพราะอย่างนี้ ความท้าทายที่อยู่ตรงหน้าเราก็คือ การจะเคลื่อนย้ายจำนวนเงินที่มหาศาลและมีอย่างต่อเนื่องนี้อย่างไร เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งก็สามารถทำได้ด้วยการให้ทางเลือกการลงทุน แก่ผู้ทำงานต่างประเทศ นอกเหนือจากการซื้อสามล้อให้ญาติๆ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ การตัดสินใจของ ธนาคาร ING และธนาคารชาติฟิลิปปินส์ (Philippine National Bank) ที่จะเปิดกองทุนรวม $500 ล้าน สำหรับผู้ที่ทำงานต่างชาติ ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ แล้วการสร้างวิถีทางการลงทุนที่มีจุดประสงค์พิเศษ เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน, การเงินขนาดย่อย (Microfinance) หรือ ธุรกิจการเกษตรเพื่อการพัฒนาชนบทหละ? อย่างเช่น การขยายต่อทางด่วน ซูบิค-คลาร์ก-ทาร์แลค ไปถึงถนนเคนนอน (Kennon road) นั้นจะจำเป็นอย่างมาก ภายใต้รูปแบบ สร้าง-ดำเนินงาน-ขนย้าย (build-operate-transfer scheme) ยังมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่ยังรอเงินทุนอยู่ ซึ่งความจริงแล้วเงินทุนท้องถิ่นบวกกับเงิน $14 พันล้านที่ส่งกลับมาบ้านทุกปีก็เพียงพอ นอกจากนี้ เรายังสามารถก่อตั้ง วิถีทางเพื่อจุดประสงค์พิเศษ (Special Purpose Vehicles: SVPs) สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการเปิดธุรกิจใหม่ เพื่อให้ชีวิตที่ดีในชุมชนชนบท

เพื่อนร่วมชาติที่อยู่ต่างประเทศของเรา ต้องการช่วยจากใจจริง เพียงแค่เราต้องบอกว่า "อย่างไร" มันจะไม่เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเหรอ ถ้าเราสามารถให้โอกาศการลงทุนที่ดีแก่เขาได้ ในขณะที่เขาก็ช่วยสร้างประเทศไปด้วยกัน

หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ $1 = ฿34
ขอบคุณ The Nation

No comments:

Add to Google Reader or Homepage