INTO THE WILD นำหลักสูตร "ในป่่า" แบบนี้มาจาก ดร. เคิร์ต ฮาห์น (Dr. Kurt Hahn) ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมที่ต้องเขยื่อนเคลื่อนไหว และเป็นผู้ซึ่งนำหลักสูตรเชือก หรือ rope course มาสอนให้กับคนเมือง อย่างเราๆ
INTO THE WILD สอนอะไรหลายๆอย่าง และสิ่งที่คนกรุงตัวน้อยอย่างฉัน ได้เรียนรู้จากสองวันนี้คือ
- การออกจาก Comfort Zone หรือ การออกจากสิ่งที่คุ้นเคย การกระทำที่คุ้นเคย วิธีที่คุ้นชิน หรือ สถานที่ที่สบายตัว
สัตว์ที่กินแต่พืชชนิดเดียว ถ้าพืชชนิดนั้นตายหมด สัตว์ชนิดนั้นก็จะตายสูญพันธุ์ไปด้วย
เขาให้เราจับคู่ หันหน้าเข้าหากัน ประสานมือกันบนอากาศ ให้ตัวดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม แล้วก็ให้เราทั้งคู่เดินไปบนไม้คนละท่อนที่ถ่างออก ถ่างออก เราต้องโถมตัวเขาหากันแบบไม่กลัวว่าจะตกลงไปตรงกลาง (ซึ่งสมมุติว่าเป็นหุบเหว) ตัวของคนทั้งสองก็จะกลายเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ฐานกว้างขึ้น กว้างขึ้น เกิดความสมดุล และสามารถเดินไปจนสุดไม้ได้ เราต้องออกจาก Comfort zone โดยการโถมตัวไปข้างหน้า แทนที่จะพยายามโก่งตัวไปข้างหลังให้ไม่ตก เขาสอนว่า การออกจาก comfort zone ต้องกล้า อาจจะรู้สึกหวาดเสียว กลัวบ้าง แต่เราก็จะได้ความรู้ใหม่ๆ ได้ความสำเร็จ หรือแม้แต่รอดชีวิต! เขาเล่าว่า ชาวอินเดียนแดงเผ่าเชโรกี ใช้วิธีการเดินแบบนี้ข้ามหุบเหว จึงทำให้หนีจากการล่าของทหารอเมริกันได้ - ความไว้ใจ และการทำให้ไว้ใจ
การที่จะเดินบนไม้ที่ถ่างออกได้นั้น เราต้องให้ความไว้ใจในเพื่อนเรามากๆด้วย ถ้าเราไม่แน่ใจว่า ไอ้เพื่อนมันจะทิ้งน้ำหนักมาตรงกลางเหมือนกันหรือเปล่า เราก็ไม่กล้าที่จะโถมตัวทิ้งน้ำหนักไปข้างหน้า ไว้ใจกันตลอดทาง สำคัญมาก แล้วเราก็ผ่านได้ ไม่ตกน้ำ
และการที่เราจะให้เพื่อนไว้ใจเรานั้น เราก็ต้องให้ความมั่นใจเขาด้วย เช่นว่า เมื่อเขาทิ้งตัวลงมา เราคอยรับอยู่ เวลาเพื่อนถามว่าพร้อมไหม ไหวไหม ถ้าเราตอบว่าพร้อม ว่าไหว อย่างหนักแน่น เขาก็มั่นใจได้ การทำงานร่วมกันก็สำเร็จได้ เพราะทุกคนพร้อมทำหน้าที่ของตัว - เรียนรู้ให้เร็ว และกล้าที่จะฝ่าวัฒนธรรมเดิมๆ
เขาฝึกให้เราทำในสิ่งที่เราคนไทยไม่ถนัด นั้นคือ การกอด ตอนแรกๆ ทุกคนต่างก็ขัดๆเขินๆ แต่พอได้เรียนรู้ว่า การกอด เป็นสิ่งที่ยอมรับในสังคมป่าสนนี้ แล้วยิ่งเมื่อพวกเราผ่านอุปสรรค์อันยากลำบากมาได้ด้วยกัน เราก็กลายเป็นอยากจะเข้าไปกอดเพื่อนๆ เพื่อขอบคุณ และแสดงความยินดี แบบรู้กันได้โดยไม่ต้องมีคำพูด มนุษย์ทุกคนชอบการกอด หรือ Good Touch และก็ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆเท่านั้น ที่เวลากอดแล้วจะหยุดร้องไห้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆก็รับรู้ถึงความรักได้ด้วยการกอดเช่นกัน - วางแผนให้ดี แบ่งหน้าที่ และนึกถึงสถานการณ์จริง ก่อนลงมือทำ
เราได้เล่นแพบก ทุกคนในทีมต้องขึ้นไปยืนบนแผ่นกระดาน ที่มีลูกบอลเป็นล้อ ต้องมีคนคอยถ่อให้ไปถึงหลักชัย และก็ต้องมีคนคอยเก็บลูกบอลจากข้างท้าย และก็ต้องมีคนคอยใส่ลูกบอลไปข้างหน้า เราต้องแบ่งหน้าที่ และตอนวางแผน เราก็ต้องคิดถึงสถานการณ์จริงว่า ทำอย่างไรลูกบอลจึงจะมีพอหมุนเวียน - ผู้นำ ต้องนำ แบบรู้ถ่วงดุล และผู้ตาม ต้องตาม อย่างสามัคคี
เราได้เล่นอัศวินขี่ตัวเอ โดยมีคนนึงอยู่บนตัวเอ นอกนั้นช่วยกันดึงไป ตัวเอต้องเดินไปทีละขา ถ้าคนข้างบนคอยบอกว่า เอ้าขวา! เอ้าซ้าย! ขวาก็จะก้าว แล้วซ้ายก็จะก้าว ไม่ดึงกันไปดึงกันมาแล้วอยู่กับที่ ส่วนคนข้างหลังก็ต้องคอยดึง ไม่ให้ตัวเอล้มลงไปข้างหน้า เพราะทั้งซ้ายและขวาต่างก็ดึงไปข้างหน้า คนหลังต้องช่วยประคองไว้ แต่ไม่ใช่รั้งไว้นะ ส่วนคนข้างบนก็ต้องรู้จักบาล้านซ์ด้วย ทิ้งน้ำหนักให้ถูกที่ เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยง หรือโมเมนตั้มให้เอก้าวไปข้างหน้า ลองคิดดูเหมือนการบริหารงานเป็นทีมเลยไหม - ความสามัคคี ทำให้สิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ ทำได้
เราต้องปีนกำแพงที่สูงประมาณ ตัวฉันต่อกัน 2คนครึ่ง มันสูงมาก (ถึงแม้ตัวฉันจะไม่สูง..ก็ตามที) ทุกคนก็ โห จากข้ามไปได้หรือนี่ แต่สุดท้ายทุกคนก็ข้ามไปกันได้ ด้วยทุกคนช่วยกันยก ช่วยกันดัน ช่วยกันดึง เขาบอกว่า ตรงกันข้ามกับปู ปูปีนขึ้นไป ตัวข้างล่างก็ดึงตัวข้างบนลง ขึ้นแล้วก็ล้มลงเป็นแผงอยู่อย่างนั้น จนโดนจับไปกิน - เร็วเกินไปก็ไม่ถึงจุดหมาย ต้องไปอย่างมีสติ
งานหลายๆอย่างมีคู่แข่ง แต่ไม่มีกำหนดเวลา การที่เรารีบๆทำ อย่างไร้สติ หรือบางทก็ เสียสติ งานมันก็เสีย แล้วเราก็อาจต้องมาเริ่มต้นใหม่ เสียเวลาเพิ่มไปอีก สู้มีสติ ค่อยๆทำไปเรื่อยๆอย่างตั้งใจไม่ได้ ถึงแน่ แบบไม่มี Rework ด้วย อันนี้ได้เรียนรู้จากการส่งลูกกอล์ฟให้แล่นไปตามราง ทุกคนมีรางเป็นของตัวเอง เมื่อลูกกอล์ฟไหลผ่านรางตัวเองไปแล้ว ก็ต้องรีบไปต่อท้ายแถว ต่อความยาวของราง เพื่อให้ถึงจุดหมาย แต่ถ้าลูกกอล์ฟ หล่นระหว่างทาง ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่นะซิ - กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ตัดสินใจแล้วก็ทำเลย
การที่เราจะทำอะไรที่มีความเสี่ยง ทำให้เรากลัว กลัวตก ต้องใช้ความกล้า เมื่อกล้าตัดสินใจแล้ว ก็ต้องกล้าทำด้วย ตัดสินใจดีแล้วก็ต้องทำเลย ถึงแม้จะกลัว ถ้ามัวแต่กลัวๆกล้าๆ ก็จะกลัวมากขึ้น และไม่กล้าในที่สุด เสียท่าที่ขึ้นไปยืนบนที่สูงแล้ว และการเป็นกำลังใจให้กัน ก็ทำให้คนเกิดความกล้าได้อย่างอัศจรรย์ด้วย! สูดหายใจลึกๆเข้าไว้ - เรียนรู้ที่จะเรียนรู้ Learn how to learn
อาจารย์วิทยากร บอกว่า เราเรียนรู้ได้หลายแบบ และแต่ละคนก็ถนัดในแบบที่ต่างๆกัน คือ 1. Visual เรียนรู้จากการดู ดูแบบแล้วก็มาทำเองได้ 2. Auditory เรียนรู้จากการฟัง จับใจความสำคัญแล้วก็เอามาแก้ปัญหาได้ 3. Kinnesthetic เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ การขยับตัว อย่างนักกีฬา ทำไปทำมาก็ทำได้ 4. Solution รู้ผลที่ต้องการ แต่เราก็ต้องไปคิดหาวิธีทำเอาเอง อันนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความกล้าที่จะลองผิดลองถูกด้วย มีเพื่อนในห้องสามารถทำเงื่อนยากๆได้ โดยรู้แค่้ว่าต้องให้ห่วงหนึ่งมาคล้องกับอีกห่วงหนึ่งเท่านั้นเอง เก่งจริงๆ ยังจำเงื่อน Double Figure Eight ที่เราเรียนรู้จากการฟัง (และดู) ได้หรือเปล่า? - ออกกำลังกายบ้าง
มนุษย์ และ ลิงเล็ก ลิงใหญ่ รวมเรียกว่า ไพเมต (Primate) เกิดมาไม่เหมือนสัตว์อื่น คือมีสมองที่ใหญ่ และมีสรีระพิเศษ สามารถหมุนแขนได้ 360 องศา มนุษย์เป็นไพเมตชั้นสูง ที่สามารถพัฒนาสมอง และความสามารถ ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เราก็ไม่ควรลืมพรสวรรค์ในการหมุนแขนได้ 360 องศา เพราะฉะนั้น ออกกำลังบ้าง!!!
ขอขอบคุณอาจารย์วิทยากร ดร. สวัสดิ์ บรรเทิงสุข, อ. วิชัย สมมิตร, อ. เธียร พานิช, หมอ เอก พงษ์ศักดิ์, พี่มือวีดีโอ, พี่พยาบาล และเพื่อนทุกคนค่ะ!
No comments:
Post a Comment