ทีมนักฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเซนท์แอนดรูส์ (The university of St Andrews) ในสก็อตแลนด์ สามารถสร้าง "ปรากฏการณ์ลอยได้อย่างเหลือเชื่อ" หรือ "incredible levitation effects"
ศาสตราจารย์ อูล์ฟ ลีอนฮาดท์ (Professor Ulf Leonhardt) และ ดร. โธมัส ฟิลบิน (Dr. Thomas Philbin) แห่งมหาวิทยาลัยเซนท์แอนดรูส์ สามารถค้นพบวิธีกลับแรงแคสสิเมียร์ (Casimir force) ซึ่งเป็นแรงดูด ที่ทำให้จิ้งจกติดอยู่บนข้างฝาได้ด้วยนิ้วเท้าเดียว ให้กลายเป็นแรงผลักได้
แรงแคสสิเมียร์ เป็นแรงที่เป็นผลมาจากกลไกทางควอนตัม (Quantum mechanics) ที่ทำให้วัตถุติดอยู่ด้วยกัน คือ เกิดจากการสั่นของ energy field ในที่ว่างระหว่างของสองสิ่ง มันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อะตอมติดอยู่ด้วยกัน และจิ้งจกสามารถเดินบนเพดานได้
ศ. ลีอนฮาดท์ และ ดร. ฟิลบิน รายงานใน The new Journal of Physics ว่า ด้วยการใช้เลนส์ชนิดพิเศษที่ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ตอนนี้พวกเขาสามารถทำให้แรงแคสสิเมียร์ ผลัก แทนที่จะ ดูด ได้
โดย ศ. ลีอนฮาดท์ อธิบายว่า "แรงแคสสิเมียร์ เป็นตัวการสำคัญของแรงเสียดทานในโลกนาโน โดยเฉพาะ ในระบบเครื่องกลไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Microelectromechanical system) ระบบเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญ เช่น เครื่องมือกลขนาดจิ๋วที่สั่งให้แอร์แบค (Airbag) ในรถยนต์พองตัว หรือที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์ 'lab on chip' ที่ใช้สำหรับการทดสอบยา หรือวิเคราะห์ทางเคมี เครื่องยนต์ขนาดไมโคร หรือนาโน จะสามารถวิ่งได้เรียบกว่า และด้วย น้อยกว่า-หรือ-ปราศจาก แรงเสียดทานเลย ถ้าสามารถความคุมแรงนี้ได้"
ดร. ฟิลบิน กล่าวว่า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปได้ ที่จะทำให้วัตถุขนาดใหญ่เท่ามนุษย์ ลอยได้ มันก็ยังอีกไกลกว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถพัฒนาให้ถึงระดับนั้นได้
การจะออกแบบเลนส์ให้ทำแบบนี้ได้นั้นยุ่งยาก แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ และ การยกให้ลอยนั้น "สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะค่อนข้างไกล"
ขอบคุณ Telegraph.co.uk และ The Nation
No comments:
Post a Comment