12 September 2007

กรุงเทพฯ ฉลองเสาชิงช้าใหม่ 2550

วันพรุ่งนี้ 12 กันยายน 2550 กรุงเทพฯ ฉลองเสาชิงช้าใหม่ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าด้วย
เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึงในเวลา 17.00 น. กองทหารเกียรติยศถวายความเคารพ ทรงจุดธูปเทียนบูชาเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง พระราชทานให้พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์อันเชิญไปสักการะเทวรูปที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ก่อนจะเสด็จไปยังเสาชิงช้าเพื่อทรงพระสุหร่าย ฉีดที่เสาชิงช้า และพระราชทานผ้าสีชมพูให้ กทม.อัญเชิญไปผูกที่เสาชิงช้า เป็นการประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ - ผู้จัดการ Online

งานฉลองจัดขึ้น 3 วัน ตั้งแต่ 11 - 13 กันยายน 2550 โดยจะมีนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวเสาชิงช้า จากอดีตถึงปัจจุบัน และมหรสพแบบดั้งเดิม โดยในวันที่ 12 ก.ย. ตั้งแต่เวลา 07.00 น. จะมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 81 รูป พิธีชุมนุมเทวดา การรำแก้บนตามแบบกรมศิลปากร จากนั้น ในช่วงเย็นเวลา 18.00-22.00 น.จะมีการแสดงลานวิถีไทย และมหรสพบนเวที เช่น ขับเสภา ซึ่งจะเกริ่นเรื่องสร้างพระนคร, การแสดงโขนชุด สร้างพระนคร, ละครชาตรี เรื่อง “ระเด่นลันได” นำแสดงโดย ครูมืด (ประสาท ทองอร่าม) จากกรมศิลปากร และในช่วงเวลา 21.00- 22.00 น. จะมีการแสดงหุ่นละครเล็ก ร่วมกับวงดุริยางทหารบก 9 ชุด คือ ระบำครุฑเฉลิมพระเกียรติ, ระบำศรีชัยสิงห์, รำโนราห์, กินรีร่อน, วีรชัยลิง, กลองยาว-โปงลาง, โจโจ้ซัง (ญี่ปุ่น), อารีดัง (เกาหลี), และการแสดงแปดนางฟ้า (จีน)

ส่วนวันที่ 13 ก.ย. เวลา 18.00-21.00 น. จะมีการแสดง เมดเลย์ “มหรสพกรุงรัตนโกสินทร์ แรกสร้างกรุงเทพฯ ถึงปัจจุบัน” ด้วย นอกจากนี้






เสาชิงช้าของเรานั้น ได้ยืนตระหง่านอยู่คู่กับกรุงเทพมหานคร มานานถึง 223 ปีแล้ว โดยต้นแรกสร้างเมื่อ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2327 หรือ วันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง ที่บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศ ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาได้ย้ายมาที่ปัจจุบัน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ถือเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งแรก และหลังจากนั้นก็ได้มีการซ่อมแซมอีกหลายครั้ง

ครั้งล่าสุด บูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร เมื่อปี 2515 เป็นเวลากว่า 30 ปี ก่อนที่กรุงเทพมหานครจะขออนุญาติกรมศิลปากรเปลี่ยนเสาใหม่ โดยพระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ ทำพิธีถอนเสาชิงช้าเดิมออก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 และได้สร้างเสร็จและตั้งขึ้นใหม่ ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2549








เสาชิงช้าใหม่นี้ ทำจากไม้สักทอง 6 ต้น จากจังหวัดแพร่ (ค้นหาตามแหล่งไม้สักทองชั้นดีทั่วประทศ ทั้งกาญจนบุรี ตาก พิษณุโลก แม่่้ฮ่องสอน จนมาได้ที่ จ.แพร่) ต้นหลักที่หนึ่งนั้น นำมาบริเวณหน่วยประสานงานป้องกันและรักษาป่า อ.เด่นชัย ในพื้นที่ราชพัสดุ มีเส้นรอบวงโคนต้น 360 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 114 ซม. จากโคนถึงยอดสูงกว่า 40 ม. ส่วนต้นหลักที่สองนั้น ได้มาจากไหล่ทางหลวง หมายเลข 101 หลักกิโลเมตรที่ 104+066 อ.เด่นชัย เช่นกัน ต้นหลักที่สองนี้ มีเส้นรอบวงโคนต้น 352 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 112 ซม. ความสูงจากโคนถึงยอดมากกว่า 30 ม.

ต้นสักต้นที่สาม ถึง หก สำหรับทำไม้ตะเกียบพยุงนั้น ได้มาจากสวนป่าห้วยไร มีเส้นรอบวงโคนต้น 230 ซม. สูง 20 ม.ทั้งหมด









หลังจากทำพิธีตัดต้นสักทองทั้ง 6 ต้น เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ก็ขนย้ายมาจังหวัดอยุธยา เพื่อ แปรรูป ที่โรงเลื่อยกระยาเลย และที่อู่บกพหลโยธิน ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อแต่งเกลาให้มีความกลมเหมือนเสาเดิม จากนั้นได้อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ อบให้ไม้มีความแกร่ง

สำหรับการแกะสลักกระจังหูช้าง และงานศิลปกรรมอื่นๆ ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดูแล ถอดแบบ และปรับลายให้มีความถูกต้อง รวมถึงขั้นตอนการแกะสลักกระจัง ทับหลังกระจังหูช้าง การแต่งหัวเสาตะเกียบ และการทดลองประกอบก่อนนำไปติดตั้ง โดยหัวเสาของไม้ตะเกียบพยุงของเสาชิงช้าใหม่นี้ จะต่างจากของต้นเดิม ที่ต้นเดิมเป็นลักษณะดอกบัว แต่แบบใหม่มีลักษณะเหลี่ยม จากที่ได้ดูกระบวนการทำจาก กบนอกกะละ เสาชิงช้า ความแข็งแกร่งแห่งมหานคร ตอน 1 และ ตอน 2 ก็ได้รู้ว่าช่างไม้ที่อยุธยาต่างก็ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ในชีวิตได้มีโอกาศแกะสลัก และทำเสาชิงช้า

ก่อนงานฉลองเสาชิงช้าใหม่นี้ ยังมีการจัดประกวดภาพถ่ายเสาชิงช้า โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดถึง 3,411 ชิ้น ซึ่งกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะในวันแรกของงานฉลอง (11 ก.ย.) และได้จัดทำสมุดภาพสี ตีพิมพ์ภาพที่ได้รับเลือกทั้งหมด ในสมุดภาพ ชื่อ “การประกวดภาพถ่ายมหัศจรรย์เสาชิงช้า และภาพแห่งความทรงจำย่านเสาชิงช้าในอดีต” ซึ่งจะมีแจกในงานด้วย


สวยจริงๆ...ภาพชนะเลิศ ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมนี้ ชื่อ "อลังการเสาชิงช้า" ถ่ายโดย นายสุธาธร แสงจารึก


รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพ "อัศจรรย์เสาชิงช้า2" โดย นายพิสิฐ เสนานันท์กุล


พระราชครูวามเทพมุนี อธิบายว่า
การที่เสาชิงช้ามีสีแดงก็เพร าะทางพราหมณ์ยึดถือตามสีของพระอาทิตย์ในยามที่ทอแสงตอนรุ่งอรุณ หรือสีหม้อใหม่ที่กำลังสุกแดง ซึ่งเป็นสีที่มีมงคลสว่าง เจริญรุ่งเรือง เป็นสีซึ่งเป็นธรรมชาติ เมื่อก่อนจะใช้สีชาดทา แต่ปัจจุบันก็ใช้สีทาบ้านทั่วไป

ขอบคุณ ผู้จัดการ, มติชน, กรุงเทพมหานคร, คุณฐานิศ สุดโต

No comments:

Add to Google Reader or Homepage