พรุ่งนี้วันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2546 ค่ะ
ข่าวดีสำหรับประเทศไทย ที่สถิติการฆ่าตัวตายของเราลดลงอย่างต่อเนื่ิองมาเป็นเวลา 7 ปีแล้วค่ะ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ช่วงที่เราเจอปัญหาเศรษฐกิจ อัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ถึงปีละ 5,700 คน หรือ 1 ช.ม. 1 คน แต่ในปี พ.ศ. 2549 นั้น สถิติการฆ่าตัวตายลดลงเหลือ 5.7 คนต่อประชากร 1แสนคน หรือ 3,200 คนต่อปี หรือ 2 ช.ม. 1 คน โดยกรมสุขภาพจิต ได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ ตั้งงบประมาณ ช่วยเหลือ ดูแล และป้องกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และคาดว่าสถิติการฆ่าตัวตาย ของปีพ.ศ. 2550 นี้จะลดลง ต่ำกว่าปีที่เคยต่ำที่สุด พ.ศ. 2524 ที่มีสถิติ 5.4 คนต่อประชากร 1แสนคนด้วย
องค์การอนามัยโลกได้มีการจัดลำดับประเทศต่างๆไว้ เป็น สีแดง คือภาวะวิกฤต สีเหลือง ต้องเฝ้าระวัง สีเขียว วางใจได้ โดยประเทศไทยเราได้ถูกจัดไว้เป็นสีเขียวค่ะ
อัตราการฆ่าตัวตายทั้งประเทศของเราลดลง โดยที่ภาคเหนือลงลด แต่ภาคตะวันออกกลับเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงเป็นห่วงชาวภาคตะวันออกมากกว่าสำหรับในปีนี้ค่ะ
ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็มีสถิติการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่จะ่เป็นคนวัยกลางคน ที่มีปัญหาทางการเงิน คนสิงคโปร์ก็เครียสนะ ทุกคนต้องทำงานๆๆ และทุกอย่างก็เป็นเงินเป็นทองด้วย ยิ่งน้ำมันแพงขึ้น ของแพงขึ้น ส่วนประเทศในเอเชียที่มีสถิติสูงสุดก็หนีไม่พ้น ญี่ปุ่น ที่มีมากถึง 24.1 คนต่อประชากร 1แสนคน
กรมสุขภาพจิตบอกว่า การฆ่าตัวตายนี้ เกิดจากโรคซึมเศร้า ซึ่งรักษาให้หายได้นะจ๊ะ ก็อย่าคิดฆ่าตัวเอง ทำร้ายตัวเองเลย เราทุกคนเป็นคนที่มีค่ามาก ในตัวของเราเอง และมันก็ไม่มีปัญหาอะไรที่แก้ไขไม่ได้ ถ้าเราคิดไม่ออก ก็ต้องหาคนช่วยคิด เรามีตัวเราถึงแม้มันจะมีความทุกข์ แต่เราก็สามารถสร้างคุณค่าให้ชีวิตเราได้ ด้วยการทำตัวเราให้มีค่าต่อคนอื่น ทำประโยชน์ให้สังคมเท่าที่เราทำได้ เราให้ความช่วยเหลือคนอื่น คนอื่นก็ช่วยเหลือเรา เราหวังดีต่อคนอื่น คนอื่นก็หวังดีต่อเรา ชีวิตเรามีคุณค่ามากค่ะ เพราะเราสามารถทำสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกมนุษย์ได้ เพราะเรามีตัวเรา เป็นกำลังใจให้ค่ะ
กรมสุขภาพจิตก็มีบทความดีๆ อย่างหัวเราะบำบัดให้อ่านด้วย และถ้าต้องการสถิติเพิ่มเติมก็ดูได้ที่กรมสุขภาพจิตค่ะ นอกจากนี้ยังมีโครงการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้วยค่ะ
ข้อมูลจาก ทีวีที่สัมภาษณ์กรมสุขภาพจิต หนังสือพิมพ์ในช่วงที่ผ่านมา และเวปไซกรมสุขภาพจิต
No comments:
Post a Comment