29 July 2008

วันนี้ 29 ก.ค. วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้มีการจัดอภิปรายในหัวข้อ “การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน” ซึ่งในหลวงท่านได้ทรงเสด็จฯไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันนั้น ทรงมีพระราชดำรัส ในวันนั้นว่า

ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือ เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมา แต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก


46 ปีที่แล้ว เราก็มีปัญหาภาษาไทยกันแล้ว มาวันนี้ฉันว่า เราใช้ภาษากันแย่ลงไปอีก ด้วยค่านิยมที่ไม่น่านิยม เช่น
  • การพูด ช.ช้าง แบบ SH คือ ใช้เสียง "ฉู่" มาพูด แบบฝรั่งพูด
  • การพูด ล.ลิง แบบ ตัว L
  • ร.เรือ แบบ ตัว R งอลิ้น แทนกระดกลิ้น

ไปเลียนแบบฝรั่งพูดภาษาไทย ทำไม้ทำไม ยังงี้เรียก เลียนผิดแบบ ได้ยินมากทางทีวี วิทยุ มันให้ความรู้สึกว่าจบนอกหรือยังไงก็ไม่รู้นะ พูดภาษาไทยที ต้องมีเสียง ฉูดฉัด ฉูดฉัด เล็ดรอด ออกมาจากริมฝีปาก มันไม่เห็นจะดีตรงไหนเลย พูด ร.เรือ ก็ต้อง งอๆ ลิ้น พวกเป็นแบบนี้ก็ใช่ว่าจะพูกภาษาอังกฤษเก่งนะคะ มันคนละเรื่อง จะเก่งภาษาไหนก็ต้องพูดภาษานั้นให้ถูก มันไม่น่านิยมเลยที่จะมาทำเป็นพูดไม่ชัด บนๆ แบบนั้น ภาษาพ่อ ภาษาแม่ ยังพูดไม่ชัด แล้วคุณค่าของเราคืออะไร ภาษาไทยใครจะรักษาหนอ

ภาษาเรา เราพูด เราเขียนให้ถูกต้องดีกว่าค่ะ ยังไงก็ต้องพยายามไม่ละเลยคะ ยิ่งตอนนี้เรามีโรงเรียนนานาชาติ และหลักสูตรภาษาอังกฤษมากขึ้นมาก ภาษาไทยของเด็กไทยเรา ก็อ่อนแอลง ความจริืง ตัวฉันเอง ก็ภาษาไทยอ่อนแอ เพื่อนๆ ที่เรียนจบรุ่นเดียวกันมา ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน เวลาจะสะกดอะไรที ก็หันซ้าย หันขวา "สะกดไง สะกดไง ?_? " เขียนกันได้แต่แบบเป็นคำอ่าน ลายมืองี้ ก็ดูเกๆ ชอบกล คิดแล้วก็เศร้า แต่ก็ไม่ยอมแพ้ แ่ก่แล้วก็ยังเรียนได้

สำหรับฉัน พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ที่แบะ link ไว้ด้านข้างเป็นประโยชน์ในการช่วยสะกดมากเลยค่ะ ได้เขียน ประเทศไทยพัฒนา ก็ทำให้ฉันสะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้นเยอะ แต่ภาษาไทยนี้ ฉันภูมิใจมาก เพราะว่า เพราะ และสละสลวย โคลงกลอนงี้ เพราะพริ้ง แพรวพราว พริ้วไหว ไม่เหมือนกลอนภาษาอังกฤษ หรือ ไฮคุของญี่ปุ่น ที่อ่านยังไง ยังไง เสียงของภาษามันก็ไม่เพราะเท่าของเรา

ฝึกไว้ ไม่ละเลยค่ะ

เรารักโรงเรียน



ดู ความเป็นมาของ วันภาษาไทยแห่งชาติ

No comments:

Add to Google Reader or Homepage